เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [1. จิตตุปปาทกัณฑ์] กุศลบท กามาวจรกุศลจิตดวงที่ 1 บทภาชนีย์
ความสำราญทางใจ ความสุขทางใจ อันเกิดแต่สัมผัสแห่งมโนวิญญาณธาตุที่
เหมาะสมกัน ความเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวย
อารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าเวทนาที่เกิดขึ้น
ในสมัยนั้น
[4] สัญญา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความจำได้ กิริยาที่จำได้ ภาวะที่จำได้ อันเกิดแต่สัมผัสแห่งมโนวิญญาณธาตุ
ที่เหมาะสมกัน ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าสัญญาที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[5] เจตนา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความจงใจ กิริยาที่จงใจ ภาวะที่จงใจ อันเกิดแต่สัมผัสแห่งมโนวิญญาณธาตุ
ที่เหมาะสมกัน ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่า เจตนาที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[6] จิต ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
จิต 1มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณ-
ขันธ์ มโนวิญญาณธาตุ1 ที่เหมาะสมกัน ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าจิตที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[7] วิตก ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความตรึก ความตรึกโดยอาการต่าง ๆ ความดำริ ความที่จิตแนบแน่นใน
อารมณ์ ความที่จิตแนบสนิทในอารมณ์ ความยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ สัมมาสังกัปปะ
ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าวิตกที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[8] วิจาร ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความตรอง ความพิจารณา ความตามพิจารณา ความเข้าไปพิจารณา ความ
ที่จิตสืบต่ออารมณ์ ความที่จิตเพ่งอารมณ์ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าวิจารที่เกิดขึ้นใน
สมัยนั้น
[9] ปีติ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความอิ่มเอิบ ความปราโมทย์ ความยินดีอย่างยิ่ง ความบันเทิง ความร่าเริง
ความรื่นเริง ความปลื้มใจ ความตื่นเต้น ความที่จิตชื่นชมยินดี ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่า
ปีติที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น

เชิงอรรถ :
1-1 คำเหล่านี้เป็นไวพจน์ของจิตทั้งนั้น (อภิ.สงฺ.อ. 191-192)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 34 หน้า :28 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [1. จิตตุปปาทกัณฑ์] กุศลบท กามาวจรกุศลจิตดวงที่ 1 บทภาชนีย์
[10] สุข ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความสำราญทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อัน
เกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส ในสมัย
นั้น นี้ชื่อว่าสุขที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[11] เอกัคคตา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่ ความตั้งมั่น ความไม่ซัดส่าย ความไม่
ฟุ้งซ่าน ความที่จิตไม่ซัดส่าย สมถะ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ สัมมาสมาธิ
ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าเอกัคคตาที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[12] สัทธินทรีย์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความเชื่อ กิริยาที่เชื่อ ความปลงใจเชื่อ ความเลื่อมใสยิ่ง ศรัทธา สัทธินทรีย์
สัทธาพละ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าสัทธินทรีย์1 ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[13] วิริยินทรีย์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
การปรารภความเพียรทางใจ ความขะมักเขม้น ความบากบั่น ความ
ขวนขวาย ความพยายาม ความอุตสาหะ ความทนทาน ความเข้มแข็ง ความหมั่น
ความมุ่งมั่นอย่างไม่ท้อถอย ความไม่ทอดทิ้งฉันทะ ความไม่ทอดทิ้งธุระ ความเอาใจ
ใส่ธุระ วิริยะ วิริยินทรีย์ วิริยพละ สัมมาวายามะ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าวิริยินทรีย์1
ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[14] สตินทรีย์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
สติ ความตามระลึก ความหวนระลึก สติ กิริยาที่ระลึก ความทรงจำ ความ
ไม่เลื่อนลอย ความไม่หลงลืม สติ สตินทรีย์ สติพละ สัมมาสติ ในสมัยนั้น นี้
ชื่อว่าสตินทรีย์1 ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[15] สมาธินทรีย์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความตั้งอยู่แห่งจิต2 ความดำรงอยู่ ความตั้งมั่น ความไม่ซัดส่าย ความ
ไม่ฟุ้งซ่าน ความที่จิตไม่ซัดส่าย สมถะ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ สัมมาสมาธิ
ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าสมาธินทรีย์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น

เชิงอรรถ :
1 อภิ.วิ. 35/220/147 2 หมายถึงตั้งอยู่ในอารมณ์โดยไม่หวั่นไหว (อภิ.สงฺ.อ. 194)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 34 หน้า :29 }